Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น
ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์ (Maslow’s Hiarachy of Needs) เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์
ถ้ามนุษย์ได้รับการตอบสนองที่ต้องการ ย่อมเกิดความพึงพอใจ และช่วยให้มีความสุข มาสโลว์ จึงได้แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1. ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน 2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง 3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 4. ความต้องการการยกย่อง และ 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น
1. ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน 2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง 3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม 4. ความต้องการการยกย่อง และ 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น
Douglas Mc Gregor : ทฤษฎี X และทฤษฎี Y
เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ทฤษฎี X เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม
โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ทฤษฎี Y เป็นปรัชญาการบริการจัดการ
โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ
มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน
William Ouchi : ทฤษฎี Z
เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Z ซึ่งเกิดจากคนอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ชื่อ วิลเลี่ยม โอชิ ได้ศึกษาวิจัยว่า แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลก
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ วิญญาณแห่งหมู่คณะ
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 1. การจัดแบ่งงาน 2. การมีอำนาจหน้าที่ 3. ความมีวินัย 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา 5. เอกภาพในทิศทาง 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม 8. ระบบการรวมศูนย์ 9. สายบังคับบัญชา 10. ความเป็นระบบระเบียบ 11. ความเท่าเทียมกัน 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร 13. การริเริ่มสร้างสรรค์ 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมแล้ว เวเบอร์มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การ 6 ประการ ได้แก่ 1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่าย และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน 2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ 3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น 4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ 5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ มาใช้ในการบริหาร ดังนี้ 1. P คือการวางแผน (planning) 2. O คือการจัดองค์การ (organizing) 3. D คือการสั่งการ (directing) 4. S คือการบรรจุ (staffing) 5. CO คือการประสานงาน(co-ordinating) 6. R คือการรายงาน (reporting) 7. B คือการงบประมาณ (budgeting)
Frederick Herzberg เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน ซึ่งเขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors และ 2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่ 1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง 2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน 3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน 4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงาน
Henry L. Gantt เป็นผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart) ซึ่งเป็นแนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง จน ค.ศ.1887 Woodrow Wilson ได้เขียนหนังสือว่า การบริหารงานของรัฐหมายถึง การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร
วิวัฒนาการด้านธุรกิจ การปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อศตวรรษที่ 19 ทำให้ต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารที่ทันสมัยมากขึ้น ที่มุ่งแสวงหากำไร ผลประโยชน์เป็นเป้าหมายสำคัญ
การแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
ยุคที่1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ยุคที่2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ การประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
ยุคที่3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ และการประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
William Ouchi : ทฤษฎี Z
เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Z ซึ่งเกิดจากคนอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ชื่อ วิลเลี่ยม โอชิ ได้ศึกษาวิจัยว่า แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลก
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory
เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า
การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล
ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
2. Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
3. Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม1. Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
2. Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่ เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ วิญญาณแห่งหมู่คณะ
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol) เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้ 1. การจัดแบ่งงาน 2. การมีอำนาจหน้าที่ 3. ความมีวินัย 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา 5. เอกภาพในทิศทาง 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม 8. ระบบการรวมศูนย์ 9. สายบังคับบัญชา 10. ความเป็นระบบระเบียบ 11. ความเท่าเทียมกัน 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร 13. การริเริ่มสร้างสรรค์ 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมแล้ว เวเบอร์มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การ 6 ประการ ได้แก่ 1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่าย และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน 2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ 3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น 4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ 5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ
Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ มาใช้ในการบริหาร ดังนี้ 1. P คือการวางแผน (planning) 2. O คือการจัดองค์การ (organizing) 3. D คือการสั่งการ (directing) 4. S คือการบรรจุ (staffing) 5. CO คือการประสานงาน(co-ordinating) 6. R คือการรายงาน (reporting) 7. B คือการงบประมาณ (budgeting)
Frederick Herzberg เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน ซึ่งเขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors และ 2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
Taylor : ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่ 1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง 2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน 3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน 4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงาน
Henry L. Gantt เป็นผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart) ซึ่งเป็นแนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
การบริหาร
เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ซึ่งเรียกตัวเองว่า “Cameralists” ให้คำจำกัดความ การบริหาร
หมายถึง
การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ
ของรัฐ ต่อมาพวกอเมริกันที่เรียกว่า Federalist ให้ความหมาย การบริหาร คือ การบริหารของรัฐ หรือการบริหารตามแนวรัฐศาสตร์ ปรัชญาของการบริหารการศึกษามีอยู่ 13 ประการ
คือ 1.ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาดไหวพริบมาใช้แก้ปัญหา 2.
ผู้บริหารต้องเปิดให้คนเข้าร่วมในการทำงาน 3.ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน 4.ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายของการศึกษาเป็น
5.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้ประสานประโยชน์ 6.ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้คนเข้าพบทำความเข้าใจ
7.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้นำ 8.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือนักศึกษาผู้ยึดมั่น
9. ผู้บริหารต้องเสียสละทุกอย่าง 10.
ผู้บริหารจะต้องประสานงาน 11.ผู้บริหารจะต้องบริหารงานอยู่เสมอ
12.ผู้บริหารต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร 13.ผู้บริหารต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ และแสวงหาความชำนาญ
บทที่ 2
วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษาวิวัฒนาการด้านรัฐกิจ เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง จน ค.ศ.1887 Woodrow Wilson ได้เขียนหนังสือว่า การบริหารงานของรัฐหมายถึง การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร
วิวัฒนาการด้านธุรกิจ การปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อศตวรรษที่ 19 ทำให้ต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารที่ทันสมัยมากขึ้น ที่มุ่งแสวงหากำไร ผลประโยชน์เป็นเป้าหมายสำคัญ
การแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
ยุคที่1 นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ยุคที่2 ยุค Human Relation Era ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ การประยุกต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
ยุคที่3 ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ และการประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา
บทที่ 3
งานบริหารการศึกษาขอบข่ายการบริหารการศึกษา
1.การผลิต หมายถึง กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้นในทางการศึกษา
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน หมายถึง กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี หมายถึง การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร คือ การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย
5.การประสานงาน คือ เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา
บทที่ 4
กระบวนการทางการบริหารการศึกษา
หลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี 2 เรื่อง คือ 1.การจัดระบบสังคม และ 2.เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา ไม่ว่าระดับชาติ ระดับท้องถิ่น ระดับโรงเรียน คือ จะต้องรู้จักเด็กทุกคน โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกัน โดยใช้กระบวนการบริหารการศึกษา เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน
บทที่ 5
องค์การและการจัดองค์การ
องค์การ คือ การรวมตัวของคน 2 คนขึ้นไป มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
องค์การแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะใหญ่ๆคือ 1.องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน 2.องค์การทางราชการ ได้แก่ หน่วยงานราชการต่างๆ ครอบคลุมถึงกระทรวง ทบวง กรม และ3.องค์การเอกชน ได้แก่ บริษัท ห้าง ร้านค้า เป็นต้น
แนวคิดในการจัดองค์การ
1. แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก
2. แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง “ผู้ปฏิบัติงาน”
3. แนวในการจัดการองค์การ จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
องค์ประกอบในการจัดองค์การ ได้แก่ 1. หน้าที่การงานเป็นภารกิจ 2. การแบ่งงานกันทำ 3. การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ ประเภทขององค์การรูปนัย แบ่งออก 4 ประเภท 1. สมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก 2. องค์การทางธุรกิจ 3. องค์การเพื่อบริการ 4. องค์การเพื่อสาธารณชน
ทฤษฎีองค์การ คือ ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา รัฐศาสตร์ และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ระบบราชการ หมายถึง ระบบการบริหารที่มีลักษณะรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก มีความอิสระในการปฏิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร
บทที่ 6 การติดต่อสื่อสาร
การติดต่อสื่อสาร (Communication) หมายถึง การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน
เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป
และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่ง (Sender) ผู้เริ่มต้นของการเผยแพร่ข่าวสาร การใส่รหัส (Encoding) ขบวนการแปลความหมาย ข่าวสาร (Message) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใส่รหัส“ข่าวสารที่ส่งไปให้ผู้รับต้องอาศัย สื่อ (Medium)” ผู้รับ (Receiver) บุคคลที่ต้องการให้ข่าวสารเปลี่ยนมือไปถึง
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร(Channel) มี 2 ช่อทาง
คือ การติดต่อสื่อสารทางเดียว และการติดต่อสื่อสารสองทาง
บทที่ 7 ภาวะผู้นำ
คำว่า
"leadership" ซึ่งมักเรียกว่า "ภาวะผู้นำ" หรือ "การเป็นผู้นำ" ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้
โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับ ทิศทาง ขององค์การในอนาคต
คำว่า ผู้นำ ลักษณะภาวะผู้นำ ได้แก่ ผู้จัดการ และผู้บริหาร มีความแตกต่างกัน แต่ก็ยังนิยมใช้แทนกันเพื่อให้เข้าใจ ถึงลักษณะขององค์การที่ผู้นำเกี่ยวข้องอยู่ สำหรับประสิทธิภาพของภาวะผู้นำนั้น ได้มีการสรุปเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ ผู้นำไว้ 3 เกณฑ์ คือ(1) ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (2) ทัศนคติของผู้ตามและ (3) คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม
บทที่ 8
การประสานงาน
การประสานงาน หมายถึง การที่บุคคลหรือหน่วยงานใดทำงานร่วมกับบุคคลอื่นหรือหน่วยงานอื่นเพื่อให้งานบรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน
แนวทางการทำงานให้เกิด "การผสมงานผสานใจ"
1. มีการประสานความคิดโดยที่ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจนโยบายและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน
2. มีการประสานแผนงาน
ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจในกรอบนโยบายของแต่ละหน่วยงาน
3. มีการประสานด้านการเงิน วัสดุอุปกรณ์
4. มีการประสานคน ผู้ที่จะทำงานร่วมกันต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง
และการบริหารคนในแต่ละระดับ ต้องรู้จักใช้เทคนิคการจูงใจให้เกิดการยอมรับในการทำงานร่วมกัน
5. ระบบการติดต่อสื่อสารต้องมีประสิทธิภาพ
อาจใช้วิธีใช้หนังสือราชการ โทรศัพท์ ประชุมปรึกษาหารือ หรือการนัดหมายต่าง ๆ ต้องมีความชัดเจนและได้ผลดีตามวัตถุประสงค์
6. มีการจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับองค์การของหน่วยงานอื่น
ทั้งในด้านนโยบายและระบบการปฏิบัติงาน
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ คือ
ขบวนการในการเลือก ทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่ 1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ
2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure)
เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน
และ 3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure)
เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่เป็นโครงสร้าง
การตัดสินใจแบบสั่งการ (Directive
Style) จะ มีข้อมูลน้อย
ไม่มีทางทางเลือก การตัดสินใจจึงต้องใช้ทางลัด รวดเร็ว แบบง่ายๆ แก้ปัญหาชัดเจน ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว
ใช้ข้อมูลน้อย ไม่พิจารณาทางเลือกมาก
ยึดถือกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ ใช้สถานะของตัวเองเพื่อบรรลุผลสำเร็จ
ยึดถือกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ ใช้สถานะของตัวเองเพื่อบรรลุผลสำเร็จ
บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
ผู้บริหารโรงเรียน
ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ จะมีหลายด้าน ดังนี้ 1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน 2.การบริหารบุคคล
คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์
เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การ
3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา
4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน 5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ
คือการรู้จักจัดหา
รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น