หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา      


เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามกระแสสังคมต้องมีการวางแผนและปรับใช้อย่างรอบคอบ เพื่อให้บรรลุผลสูงสุดในทางปฏิบัติและคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาคงต้องวิเคราะห์รายละเอียดและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการปรับใช้กับผู้เรียน และประการสำคัญคือตัวผู้สอนคือครูคงต้องมีทักษะและสร้าง Computer Literacy ที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของตนเอง เพื่อรับมือกับอิทธิพลการปรับใช้แท็บเล็ตในการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนดังกล่าวควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันโดยรวม

2. สมาคมอาเซียน

สมาคมอาเซียน ก็คือ  การรวมกลุ่มเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 นั่นเอง โดยมีสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จะก้าวเข้าสู่ความร่วมมือกันในมิติใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า (2558) ทั้ง 10 ประเทศนี้อาเซียนจะทำให้ ประชากรของประเทศสมาชิกจะไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และง่ายดายขึ้นไม่ต้องมีวีซ่าและไม่ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวด คือมีสภาพคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มประเทศเดียวกัน โดยไม่ได้สูญเสียความเป็นเอกราช และอธิปไตยของตนไป                   
การเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเข้าสู่สมาคมอาเซียน
                ประเทศของเรา และประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ เวียดนาม เราต้อง มุ่งเน้นในการสร้าง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนา คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทุกด้าน แรงงานของไทยต้องไม่มีปัญหาเรื่องทักษะของงาน เพื่อนำไปสู่การแข่งขันในเวทีภูมิภาคและเวทีโลกได้ และจะต้องพัฒนาผู้นำ หรือผู้บริหารทุกระดับทุกสาขาวิชาชีพให้มีทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารมากขึ้นครับ

การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน

 -การเตรียมตัวของครู ครูต้องสามารถนำความรู้มาใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพตัวเองโดยการเสนอข้อมูลด้านความรู้ ความสามารถของเยาวชนในประเทศอาเซียนมาบอกให้ผู้เรียนได้รับรู้เช่นความสามารถด้านการศึกษาของเยาวชนประเทศสิงคโปร์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก หรือความสามารถด้านภาษาของเยาวชนฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม ที่ส่วนใหญ่สามารถพูดได้มากกว่า 2 ภาษา พร้อมกระตุ้นให้ตระหนักว่าจะต้องเร่งรีบขวนขวายพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต
-การเตรียมตัวของนักเรียน นักเรียนเราควรจะพูดได้ อย่างน้อย 2 ภาษา อันดับแรกนั้นคือภาษาไทย เพราะว่าเป็นภาษาประจำชาติของเรา และต้องพูดภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะกฏบัตรอาเซียนนั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ดังนั้น นักเรียนจึงควรที่จะเรียนภาษาอังกฤษกันมากขึ้น ผมก็จะถือว่าเป็นการดีมากที่นักเรียนไทยใส่ใจในภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น และจะเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียนได้เท่าทันประเทศอื่นๆเขาบ้าง
-การเตรียมพร้อมของนักศึกษา นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น จากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ  และการเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่ จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้  ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์ การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้ และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี

3. บทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
                              ในปัจจุบัน ผมคิดว่าครูเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนานักเรียนในทุกด้านซึ่งครูจะต้องมีภาวะที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ  และบทบาทของครูหรือผู้นำทางการศึกษานั้นจะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม เป็นผู้นำทางปัญญาได้  มีความรอบรู้ด้านใดด้านหนึ่งชัดเจน อาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ดีในอาชีพ  ต้องเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นตัวแบบ ตัวอย่างที่ดี เช่น ครูจะต้องทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเอง   และเป็นนักพัฒนา มีความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี ไม่มีอคติกับนักเรียน ต้องแยกแยะอารมณ์ส่วนตนกับการทำงานให้ได้ไม่ใช่ว่าเอางานมาปนกับเรื่องส่วนตน เพราะจะทำให้ผลลัพธ์จากการสอนนั้นไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ตัวอย่าง ครูอารมณ์เสียมาแต่ไหนก็ไม่รู้ มาถึงโวยวายกับนักเรียน พอนักเรียนโต้เตียงเล็กน้อย กลับไม่พอใจ ด่าตอบ และจะให้นักเรียนคนนั้นติดศูนย์คือไม่ผ่านนั้นเอง นี้ก็เป็นตัวอย่างของการมีภาวะผู้นำของครูที่ดี ไม่สมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างครับ

4.  การเรียนรู้โดยใช้บล็อก

 การเรียนรู้โดยใช้บล็อก ผมมีวิธีการเรียนรู้โดยการตั้งใจเรียน ผมได้ฟังอาจารย์สอนจนทำให้ผมมีความเข้าใจเป็นอย่างดี และนอกจากนี้ผมก็ยังไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกเพื่อมีความรู้เพิ่มเติม จนผมสามารถสร้างบล็อกได้ด้วยตัวของผมเอง 
การเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้ ผมจะใช้บล็อกนี้เป็นแหล่งรวบรวมผลงาน ความรู้ต่างๆ และจะนำเทคนิคการสร้างบล็อกที่ได้มาจากอาจารย์ ไปแนะนำหรือถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลังต่อไป เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย
การเรียนที่ผ่านมานั้นผมได้มีความพยายาม ตั้งใจ จดจ่อ ในการสร้าง การใช้บล็อกมาตลอด ซึ่งในที่สุดแล้วก็ทำให้ผมรู้ว่า เป็นวิชาที่ดีมาก ที่ทำให้ผมได้ทั้งภาคความรู้จากการสรุปด้วยตัวเราเอง และในภาคปฏิบัติก็ทำให้เราใช้บล็อกในการทำงานได้ ดังนั้น ผมจึงควร จะได้เกรด A ในวิชานี้ครับ
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
       การเรียนในวิชานี้ผมมีความพยายามเป็นอย่างยิ่ง  เพราะผมต้องการเป็นครูยุคใหม่ สามารถใช้บล็อกไปประกอบการเรียนการสอนได้  ผมได้ฝึกการจัดวางบล็อก และพยายามคิดที่จะทำให้บล็อกของผมออกมาดูสวยงาม  
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
       สำหรับวิชานี้ ผมได้เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเลยครับ เพราะเป็นวิชาที่น่าสนใจมากเลย
 4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน                 
   ผมได้ทำงานส่งผ่านบล็อกที่อาจารย์กำหนดทุกครั้ง แม้จะทำงานช้าไปบ้าง แต่ผมก็ส่งตามกำหนดครับ
 4.4 ทำงานผ่านบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
  ผมได้ทำงานผ่านบล็อกด้วยความสามารถของตัวผมเอง ด้วยการสรุปความคิดรวบยอดเป็นองค์ความรู้จากการอ่านบทความหลายๆ บทความมารวมกันจากหนังสือ และทางอินเทอร์เน็ตครับ
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
     ในสิ่งที่ผมตอบมาทุกประการนั้นล้วนแต่เป็นความสัตย์จริงทั้งสิ้นครับ เพราะผมยึดมั่นในความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก และผมมีอุดมการณ์ที่ว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"  ไม่มีสิ่งใดที่ผมทำไม่ได้ หากผมได้ตั้งมั่น ปฏิญาณกับตนเองแล้วว่าจะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ครับ

กิจกรรม 9

ลักษณะของห้องเรียนที่ดี

                      ลักษณะห้องเรียนที่ดี ผมคิดว่าห้องเรียนควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก มีแสงสว่างเพียงพอและสม่ำเสมอทั่วห้อง โต๊ะเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับวัย น้ำหนักเบาให้เด็กเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวกโดยมีการจัดเก็บเป็นระเบียบ สวยงาม ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม หรือเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ที่มีความสร้างสรรค์ ทนทาน หลากหลายมาใช้งาน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความทนทาน มีการจัดระบบการวางวัสดุอุปกรณ์ให้เด็กหยิบใช้ได้โดยสะดวก มีการตรวจสอบความสะอาด และความพร้อมในการใช้งานของวัสดุอุปกรณ์และสื่ออย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกสถานที่ในการเรียนรู้ให้เหมาะกับลักษณะของกิจกรรม เช่น กิจกรรมที่สงบอยู่ไกลจากกิจกรรมที่ใช้เสียง กิจกรรมที่ต้องการแสงสว่างอยู่ใกล้กับหน้าต่าง เป็นต้น และสิ่งสำคัญที่สุดนั้นผมคิดว่า คือการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้อบอุ่น เป็นมิตร และเต็มไปด้วยความรักความเมตตาครับ

กิจกรรม 8

ครูในอุดมคติ


               ครูในอุดมคติของผมนั้นจะต้องเป็นทั้งนักปราชญ์ และผู้ทรงศีลเพราะสังคมได้ยกย่องให้ครูเป็นปูชนียบุคคล เป็นผู้ประเสริฐและประสาทความรู้ สร้างความเป็นคนและอบรมสั่งสอนเด็กให้เป็นเด็กที่ดีของสังคม ความจำเป็นที่ผมจะต้องให้ครูเป็นทั้งนักปราชญ์ และผู้ทรงศีลดังกล่าวนี้ ผมเห็นว่า ความเป็นนักปราชญ์ของครูนั้น ครูจะต้องมีความดีและถ่ายทอดดี สอนให้เด็กได้รับความรู้และสนุกมีชีวิตชีวา ส่วนความเป็นผู้ทรงศีลของครู ในฐานะที่ครูเป็นแม่แบบของชาติหรือเป็นต้นแบบในพฤติกรรมทั้งปวง จะช่วยให้ครูเป็นคนดี วางตัวดี เป็นที่เคารพและเป็นที่น่าเชื่อฟังของลูกศิษย์ จึงกล่าวได้ว่า ครูต้องมีคุณธรรม หรือคุณธรรมสำหรับครูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าครูจำเป็นต้องมีคุณธรรม แต่ผมคิดว่า คุณธรรมอย่างเดียวไม่เพียงพอ ดังนั้นครูต้องเป็นนักปรัชญาด้วย การเป็นนักปราชญ์ของครูจะช่วยให้ครูมีความรู้รอบ และรอบรู้ มีทัศนะกว้างไกลและลึก มองเห็นชีวิตของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างทะลุปุโปร่ง และช่วงมองอนาคตของเด็กให้ทะลุปุโปร่งด้วย เพื่อจะได้ประคับประคองสนับสนุน และส่งเสริมให้เด็กเจริญก้าวหน้าอย่างเต็มที่ครับ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

บทความเรื่อง ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย ดร.สุเมธี ตันติเวชกุล
              1. ข้อสรุปที่ได้จากการอ่านบทความ 
                ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมเห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน เพราะตลอดระยะเวลาที่ได้ทำงานมา 30  ปีนั้น ได้ทรงสอนเรื่องแผ่นดิน ทรงสอนให้เรารู้จักและเข้าใจชีวิตของตนเอง โดยพระองค์จะเป็นผู้ปกครองโดยธรรม ที่ยึดมั่นในหลักทศพิธราชธรรม และมีวิธีในการสอนของพระองค์คือการทำให้ดู หรือการสาธิต จึงเกิดโครงการต่างๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งครูในปัจจุบันก็สามารถนำแนวทางโครงการตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ มาถอดเป็นบทเรียนเพื่อใช้ได้แทบทุกวิชาเลยครับ
             2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
              ถ้าผมเป็นครู ผมจะถ่ายทอดความรู้ โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการเรียน                 การสอน  โดยผมจะปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน และพยายามให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนให้มาก เพื่อพัฒนาการปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างปกติสุข
            3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร  
             เมื่อผมได้เป็นครูในอนาคต ผมจะนำแนวคิดนี้มาออกแบบการเรียนการสอน โดยจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งผมจะใช้วิธีสอนแบบสาธิต คือ การทำให้ผู้เรียนดูก่อน จากนั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติเอง และให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์ สุจริต ยึดมั่น คุณธรรม ทำแต่ความดี และอยู่อย่างมีความสุข

บทความเรื่อง  วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ 
โดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
               1. ข้อสรุปที่ได้จากการอ่านบทความ 
                         การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.) มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา และ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล    
                        สภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา  พบว่า  การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  และการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้สูง  และอัตราเรียนต่อสูงขึ้นทุกปี  อัตราการออกกลางคันลดลง  ผู้ปกครองต้องการให้เด็กเรียนสูงขึ้น  แต่สถานศึกษาในชนบทส่วนใหญ่   เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก  ครูผู้สอนมีน้อย และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีความรู้มากนัก เพราะเรียนแค่ ม.3 หรือ ม.6 เท่านั้น จึงทำให้การว่างงานนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ
                   2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                เมื่อผมเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ครู  ผู้บริหาร  บุคลากรทางการศึกษา  และสถานศึกษา นอกจากนี้ผมขอน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หลักการทรงงานและหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  เป็นแนวทางการพัฒนา
            3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร          
     ในอนาคตผมคงจะได้เป็นครูผู้สอน และผมก็สามารถที่จะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ ไม่ใช่ครูบอกความรู้ หรือครูบอกความเข้าใจของครูให้กับผู้เรียน จากนั้น ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้รับเป็นองค์ความรู้(อย่างเข้าใจ)เป็นภาษาของตนเอง เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน และสุดท้ายต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม 7

ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และเขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1. สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน                                                                                                

         เรื่อง ตำนานถ้ำภูผายล ผู้สอน คุณครูสุจินต์ สวนไผ่ ระดับชั้นที่สอนประถมศึกษาปีที่ 6                    
 2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง                                                                                                                                                                                                                                        
               ครูให้แก่นความรู้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ว่า เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับอะไร ? เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเวลา อดีต และสังคมมนุษย์ ที่มีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยให้นักเรียนเสนอประเด็นแหล่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่นักเรียนมีความสนใจ ศึกษาเรียนรู้ เช่น ภูผายล ถ้ำเสรีไทย พระบาทน้ำทิพย์
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา เด็กนักเรียนเลือกแหล่งเรียนรู้ผ่านการอธิบายเหตุผลและการลงคะแนน ต่อจากนั้นครูแนะสถานที่ไป ความสำคัญ จุดสำคัญทีควรศึกษา เช่น ภาพเขียน 3000 ปี จากนั้น ครูให้เด็กศึกษา หาข้อมุลเพิ่ม ก่อนไปทัศนศึกษา เมื่อศึกษาจบให้นำเสนอผลงานที่ไปดูงานมา และนำข้อมูลที่ได้ สรุปนำเสนอ และเผยแพร่ความรู้ให้น้องๆ ผ่านการจัดนิทรรศการ
การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์ การสอนแบบโครงงานให้นักเรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม ให้นักเรียนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด จึงได้พานักเรียนไปทัศนศึกษาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น เพื่อนักเรียนจะได้มีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น และภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น      
 4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน                                                                                                                                      
มีห้องเรียนที่สะอาด จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน และมีห้องเรียนที่ไม่คับแคบจนเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม 5

คุณครูที่ผมชื่นชอบ
                                                                             

http://krulathiga.files.wordpress.com/2010/07/lat1.jpg

ชื่อ นางลัฐิกา ผาบไชย      
 เกิด 18 มกราคม 2506

ประวัติการศึกษา

1.ระดับปริญญาตรี เอกภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก

2. ระดับปริญญาโท เอกหลักสูตรและการสอน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ประวัติการรับราชการ

ปี 2528 – 2530 อ.1 ระดับ 3 โรงเรียนบ้านนาแต้ อ. คำตากล้า จ.สกลนคร

ปี 2530- 2534 อ.1 ระดับ 4 โรงเรียนบ้านหินโง่น อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

2 ตุลาคม 2546 – ปัจจุบัน ครูชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนด่านแม่คำมัน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1

ผลงานดีเด่น

 รางวัลคุรุสภา  ครูภาษาไทยดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา ปี 2546 

ผลงานทางวิชาการ

1. รายงานผลการใช้แผนการสอนหลักภาษาเรื่องคำและหน้าที่ของคำในภาษาไทยโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผลงานวิจัย

1. รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคำไทย สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3

2. รายงานการพัฒนาสื่อ MultiPoint Mouse เรื่อง ไตรยางค์และการผันอักษร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลงานที่ผมชื่นชอบ คือ การทำงานเพื่อสังคม ยอมเสียสละ และอุทิศเวลาให้กับผู้อื่นได้เสมอ

1.  ทีมงานสหวิชาดอทคอม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปี  2553
2. ครู Social  Media ปี  2553
3. คณะทำงาน “ก้าวใหม่ของครูไทย ก้าวไกลด้วย Social Media”  ปี 2554
4. กรรมการตรวจผลงานวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง

       การเป็นครูเราต้องรู้จักการทำงานเพื่อสังคม ไม่ใช่เพียงสอนอย่างเดียว ต้องมีน้ำใจต่อเพื่อน ต่อครู และต่อสังคมด้วย เพราะจะเป็นหนทางให้เราสามารถพัฒนาตนเองทั้งด้านทักษะ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติอยู่ร่วมงานกันได้อย่างปกติสุข

ที่อยู่  581 ต. ศรีพนมมาศ อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ 53130 โทรศัพท์บ้าน 055 450041                     มือถือ 0832134011

โทรศัพท์โรงเรียน 055 816-063 แฟกซ์ 055 -816063

http://krulathiga.files.wordpress.com/2010/07/cimg0153.jpg 

                ภาพการอบรม การผลิตสื่อด้วยโปรแกรม Multipoint Mouse กับครูรำพึง  อ่อนอุระ

คุณครู บุญเลี้ยง ฉิมมาลี

วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม 4


  การทำงานเป็นทีม
           การทำงานเป็นทีมนั้นช่วยให้เราสามารถประสบผลสำเร็จมากกว่าการทำงานเพียงคนเดียว เพราะการทำงานให้บรรลุตามจุดประสงค์และมีประสิทธิภาพ เราต้องอาศัยความเข้าใจ และความร่วมมือกันของทุกคน

  หลักการทำงานเป็นทีม เป็นอย่างไร

           การทำงานเป็นทีมนั้นเราต้องทำความเข้าใจกันให้ชัดเจน  เพื่อให้การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น   ไม่เสียเวลาไปกับสิ่งที่ไม่เป็นประโยชน์ เมื่อเราเข้าใจทิศทางของการทำงานอย่างถูกต้องครบถ้วนเหมือนกันแล้ว ก็จะทำให้การทำงานง่ายและสะดวกมากขึ้น และเราต้องมีจุดประสงค์ในการทำงาน เพื่อช่วยทำให้เกิดความรู้สึกร่วมมือร่วมใจในการทำงาน อันจะนำไปสู่การความสำเร็จของการทำงานเป็นทีมอีกด้วยครับ

นักศึกษาจะมีวิธีการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพทำอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ     
          การทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิภาพ เราต้องรู้จักตนเองให้ดีก่อน  และรู้จักผู้อื่น โดยมีความเข้าใจต่อเพื่อนร่วมงาน มีความเห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน มีความเปิดเผยจริงใจเพื่อสามารถแก้ปัญหาร่วมกันได้

         ตัวอย่าง แม้แต่การเล่นกีฬาต่างๆ เช่น ฟุตบอลเรายังต้องใช้การเล่นเป็นทีมที่มีประสานงานของโค้ดที่ทำหน้าที่แนะนำให้ผู้เล่นได้เข้าใจผู้เล่นด้วยกันได้ดี เพื่อสามารถส่งบอลได้อย่างคล่องแคล้วว่องไวเพื่อยิงประตูได้ในที่สุด นั่นก็คือการประสบความสำเร็จของการทำงานเป็นทีม ไม่ใช่เลี้ยงบอลอยู่คนเดียว หรือว่าคิดว่าตนเองเก่งแล้ว ไม่ต้องส่งบอลให้เพื่อน อย่างนี้จะทำให้การทำงานเป็นทีมของเราล้มเหลวได้ และไม่ประสบความสำเร็จ อีกด้วยคับ

กิจกรรม 3


                    1. การจัดการเรียนการสอน  จัดชั้นเรียน  เตรียมการสอน ในยุคศตวรรษที่ 21                                             กับยุคก่อนศตวรรษที่ 21          มีความแตกต่างกันอย่างไร
                        ผมเห็นว่าในยุคก่อนศตวรรษที่ 21 นั้นเป็นการจัดการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนได้ศึกษาในโรงเรียนเท่านั้นโดยผู้เรียนจะมีครูเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ตามแผนการสอนที่วางเอาไว้แล้ว ผู้เรียนจึงไม่รู้จักเรียนรู้ด้วยตนเอง และโรงเรียนก็จะเป็นส่วนหนึ่งในการกล่อมเกลาให้เป็นส่วนหนึ่งของสังคม โดยครูคนที่จดจำความรู้ได้มาก ย่อมเรียนรู้ได้ดีกว่าคนที่จดจำความรู้ได้น้อยครับ
                       แต่ในยุคศตวรรษที่ 21 นั้นผมคิดว่า มีการจัดการเรียนการสอนที่ดีกว่ามาก เพราะเป็นการเรียนรู้ที่เน้นการศึกษาด้วยตนเองเป็นหลัก ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเองได้ทุกสถานที่ เรียนรู้การตัดสินใจและทุกคนจะมีความเจริญก้าวหน้าในสังคมด้วยคนในสังคมอยู่แล้ว ผู้เรียนมีโอกาสในการเลือกหลักสูตรที่หลากหลาย มีคอมพิวเตอร์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น ครูจะเป็นตัวแทนของการเรียนรู้และมีระบบการประเมินที่หลากหลายการสอนที่จัดว่ามีประสิทธิภาพ  ต้องการครูที่มีคุณลักษณะเป็นผู้ชี้แนะการเรียนรู้ (learning coach) และ เป็นตัวแทนในการนำผู้เรียนท่องเที่ยวไปสู่โลกแห่งการเรียนรู้ได้  (learning travel agent) ครับ

                   2. ครูผู้สอนจะต้องเตรียมตัวอย่างไรในอนาคตที่ท่านจะเป็นครูยุดต่อไปข้างหน้า ให้สรุปตามแนวคิดของนักศึกษา
                       ผมมีการเตรียมตัวที่จะเป็นครูผู้สอนในอนาคตที่ดี คือการรู้จักก้าวทันโลกยุคใหม่ ใส่ใจข้อมูลข่าวสารที่มีเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอยู่ทุกวัน ซึ่งจะทำให้เราเป็นครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การเรียนรู้แบบใหม่ ใช้เครื่องมือต่าง ๆได้ มีทักษะการค้นหาความรู้ด้วย เทคโนโลยีได้ตลอดเวลา และเราจะเป็นครูที่มีประสิทธิภาพต้องใช้เทคโนโลยีได้อย่างคล่องแคล่ว เช่น การประเมินผลการเรียนต่างๆก็สามารถใช้เทคโนโลยีในการประเมินได้ ดังนั้นครูผู้สอนจึงต้องมีทักษะด้านเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพ และใช้เทคโนโลยีให้เหมาะสม คุ้มค่าที่สุด

วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555

กิจกรรม 2

ทฤษฏีการบริหารการศึกษา
Abraham Harold Maslow : ทฤษฎีลำดับขั้นความต้องการ 5 ขั้น

ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์  (Maslow’s Hiarachy of Needs)  เป็นทฤษฎีที่กล่าวถึงความต้องการของมนุษย์ ถ้ามนุษย์ได้รับการตอบสนองที่ต้องการ ย่อมเกิดความพึงพอใจ และช่วยให้มีความสุข มาสโลว์ จึงได้แบ่งความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับด้วยกัน ได้แก่
1. ความต้องการทางร่างกาย เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์เพื่อความอยู่รอด เช่น อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค อากาศ น้ำดื่ม การพักผ่อน   
2. ความต้องการความปลอดภัยและมั่นคง  3. ความต้องการความผูกพันหรือการยอมรับ เป็นความต้องการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม  4. ความต้องการการยกย่อง และ 5. ความต้องการความสำเร็จในชีวิต เป็นความต้องการสูงสุดของแต่ละบุคคล เช่น ความต้องการที่จะทำทุกสิ่งทุกอย่างได้สำเร็จ ความต้องการทำทุกอย่างเพื่อตอบสนองความต้องการของตนเอง เป็นต้น    
Douglas Mc Gregor ทฤษฎี และทฤษฎี Y
เป็นทฤษฎีการมองต่างมุม ทฤษฎี X เป็นปรัชญาการบริการจัดการแบบดั้งเดิม โดยมองว่าพนักงานเกียจคร้าน ไม่กระตือรือร้น ทฤษฎี Y เป็นปรัชญาการบริการจัดการ โดยมองว่าพนักงานมีความรับผิดชอบ มีความคิดริเริ่มในการแก้ปัญหาในการทำงานและไม่มีความเบื่อหน่ายในการทำงาน                
William Ouchi ทฤษฎี Z
  เป็นทฤษฎีลูกผสมระหว่างญี่ปุ่นกับอเมริกัน หรือเรียกว่ากลุ่มทฤษฎีร่วมสมัย เป็นทฤษฎีที่มองเห็นว่าการจูงใจคนนั้นต้องเป็นไปตามสถานการณ์ แต่ทฤษฎีร่วมสมัยบางอย่างที่เกิดขึ้นมาใหม่ก็ยังไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นทฤษฎี แต่อยู่ระหว่างการศึกษาทดลองเพื่อปรับให้เป็นทฤษฎี เช่น ทฤษฎี Z ซึ่งเกิดจากคนอเมริกัน ที่มีเชื้อสายญี่ปุ่น ชื่อ วิลเลี่ยม โอชิ ได้ศึกษาวิจัยว่า แนวความคิดในการบริหารจัดการของโลก                                                                                                                                    
ทฤษฎี A คือ Amarican Theory                                                                                          

   ทฤษฎี A คือ Amarican Theory เป็นทฤษฎีว่าด้วยการบริหารจัดการร่วมสมัยตามแบบของอเมริกา ซึ่งให้หลักการว่า การบริหารจัดการแบบนี้ ต้องอาศัยการจัดการจากพื้นฐานของบุคคล ของผู้บริหารที่เกิดขึ้นในอดีต ซึ่งในทฤษฎีนี้มีหลักสำคัญ 3 ประการ คือ
1. Individualism คือ การที่สังคมอเมริกันเป็นสังคมแบบ ปัจเจกบุคคล ซึ่งจะมีความรับผิดชอบต่อตัวเองมาแต่อดีต
2. Short Term Employment คือ การจ้างงานในระยะสั้น คนอเมริกันมักไม่มีความผูกพันในครอบครัว ในที่ทำงาน พร้อมเสมอที่ออกจากงาน ย้ายงาน
3. Individual Decision Making สูง มีความมั่นใจในการตัดสินใจ กล้าตัดสินใจ ทำให้ผู้บริหารไม่ต้องไปดูแลอย่างใกล้ชิด ผลเสียคือ ขาดการทำงานเป็นทีม
Henry Fayol : บิดาทฤษฎีการบริหารจัดการสมัยใหม่    เป็นบิดาของทฤษฎีการจัดการการปฏิบัติการ เขาเชื่อว่าการบริหารนั้นเป็นเรื่องของทักษะ และเขาสนใจที่จะศึกษาองค์การโดยรวมและมุ่งเน้นที่กิจกรรมการจัดการ ซึ่งประกอบด้วย การวางแผน การจัดองค์การ การบังคับบัญชา หรือการสั่งการ วิญญาณแห่งหมู่คณะ
อังริ ฟาโยล (Henri Fayol)  เป็นนักอุตสาหกรรม ชาวฝรั่งเศส ได้นำเสนอหลักการทีเขาเรียกว่า หลักการจัดการ 14 ประการ ซึ่งมีดังต่อไปนี้   1. การจัดแบ่งงาน 2. การมีอำนาจหน้าที่ 3. ความมีวินัย 4. เอกภาพของสายบังคับบัญชา 5. เอกภาพในทิศทาง 6. ผลประโยชน์ของหมู่คณะจะต้องเหนือผลประโยชน์ส่วนตน 7. มีระบบค่าตอบแทนที่ยุติธรรม 8. ระบบการรวมศูนย์ 9. สายบังคับบัญชา 10. ความเป็นระบบระเบียบ 11. ความเท่าเทียมกัน 12. ความมั่นคง และสามัญฐานะของบุคลากร  13. การริเริ่มสร้างสรรค์ 14. วิญญาณแห่งหมู่คณะ         
แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) เป็นนักสังคมวิทยา ชาวเยอรมัน ได้นำเสนอแนวคิดการจัดองค์การ ที่เรียกว่า bureaucracy ซึ่งเป็นลักษณะองค์การที่เป็นอุดมคติที่องค์การทั้งหลายควรจะเป็น หากได้รับการพัฒนาในระดับที่เหมาะสมแล้ว เวเบอร์มีแนวคิดเกี่ยวกับการจัดองค์การ 6 ประการ ได้แก่  1. องค์การต้องมีการจัดแบ่งงานออกเป็นส่วนๆ เพื่อให้แต่ละส่วนงานได้มีโอกาสทำงานในส่วนที่ง่าย และมีการกำหนดงานนั้นๆให้ชัดเจนและไม่สับสน 2. องค์การนั้นต้องมีสายบังคับบัญชาตามลำดับ 3. ระบบการคัดเลือกคนนั้นต้องกระทำอย่างเป็น 4. องค์การต้องมีระเบียบ และกฏเกณฑ์ 5. ความไม่เลือกที่รักมักที่ 6. การแยกระบบการทำงานออกเป็นสายอาชีพ                                
Luther Gulick เป็นผู้คิดรูปแบบการบริหารจัดการโดยมีกิจกรรม 7 ประการ มาใช้ในการบริหาร ดังนี้   1. P คือการวางแผน (planning) 2. O คือการจัดองค์การ (organizing) 3. D คือการสั่งการ (directing) 4. S คือการบรรจุ (staffing) 5. CO คือการประสานงาน(co-ordinating) 6. R คือการรายงาน (reporting) 7. B คือการงบประมาณ (budgeting) 
Frederick Herzberg  เป็นทฤษฎีเกี่ยวกับแรงจูงใจโดยเฟรเดอริค เฮิร์ซเบอร์ก (Frederick Herzberg)เฮิร์ซเบอร์กได้ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับแรงจูงใจของคน ซึ่งเขาได้ผลสรุปว่าแรงจูงใจของมนุษย์จะประกอบด้วย 2 ปัจจัย คือ 1. ปัจจัยภายนอกหรือเรียกว่า Hygiene Factors และ 2. ปัจจัยภายใน หรือ Motivation Factors
Taylor ทฤษฏีการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งการจัดการตามหลักวิทยาศาสตร์ ปรัชญาการบริหารของเทย์เลอร์ได้แก่ 1.ทำการศึกษางานแต่ละส่วนด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์และพัฒนาวิธีการที่ดีที่สุดสำหรับการทำงานแต่ละอย่าง  2.ใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์ในการคัดเลือกและการฝึกอบรมพนักงานและมอบหมายความรับผิดชอบให้ทำงานที่เหมาะสมที่สุดสำหรับแต่ละคน 3. มีการประสานงานกันอย่างใกล้ชิดระหว่างผู้บริหารและพนักงาน 4. แบ่งงานและความรับผิดชอบในงาน
Henry L. Gantt  เป็นผู้พัฒนาการอธิบายแผนโดยใช้กราฟ (Gantt Chart) ซึ่งเป็นแนวคิดของ Gilbreth เน้นการกำจัดความสิ้นเปลือง และความไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน
บทที่ 1
มโนทัศน์เกี่ยวกับการบริหารการศึกษา
                การบริหาร  เริ่มใช้เมื่ออาณาจักรโรมันล่มสลายโดยกลุ่มนักรัฐศาสตร์ซึ่งเรียกตัวเองว่า “Cameralists” ให้คำจำกัดความ  การบริหาร  หมายถึง  การจัดการหรือควบคุมกิจการต่างๆ  ของรัฐ  ต่อมาพวกอเมริกันที่เรียกว่า  Federalist  ให้ความหมาย  การบริหาร คือ  การบริหารของรัฐ   หรือการบริหารตามแนวรัฐศาสตร์                                                                                                                          ปรัชญาของการบริหารการศึกษามีอยู่  13  ประการ  คือ 1.ผู้บริหารต้องใช้ความฉลาดไหวพริบมาใช้แก้ปัญหา  2. ผู้บริหารต้องเปิดให้คนเข้าร่วมในการทำงาน 3.ผู้บริหารต้องเคารพความเป็นคนของแต่ละคน   4.ผู้บริหารต้องยึดเป้าหมายของการศึกษาเป็น 5.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้ประสานประโยชน์  6.ผู้บริหารต้องเปิดโอกาสให้คนเข้าพบทำความเข้าใจ 7.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเป็นผู้นำ 8.ผู้บริหารต้องถือว่าตนเองคือนักศึกษาผู้ยึดมั่น 9. ผู้บริหารต้องเสียสละทุกอย่าง 10. ผู้บริหารจะต้องประสานงาน 11.ผู้บริหารจะต้องบริหารงานอยู่เสมอ 12.ผู้บริหารต้องเคารพในวิชาชีพของการบริหาร 13.ผู้บริหารต้องขวนขวายหาความรู้ใส่ตนอยู่เสมอ  และแสวงหาความชำนาญ 
 บทที่  2
                          วิวัฒนาการของการบริหารยุคต่างๆและการประยุกต์ใช้ในการบริหารการศึกษา
วิวัฒนาการด้านรัฐกิจ  เป็นการศึกษาเกี่ยวกับการปกครอง จน ค.ศ.1887 Woodrow Wilson ได้เขียนหนังสือว่า การบริหารงานของรัฐหมายถึง  การบริหารหรือจัดการหรือดำเนินการในด้านรายละเอียดอย่างมีแบบแผน  ซึ่งเกี่ยวพันกับกฎหมายต่างๆของรัฐการใช้กฎหมายคือการบริหาร
วิวัฒนาการด้านธุรกิจ  การปฏิวัติอุตสาหกรรม เมื่อศตวรรษที่ 19 ทำให้ต้องการเปลี่ยนแปลงการบริหารที่ทันสมัยมากขึ้น ที่มุ่งแสวงหากำไร ผลประโยชน์เป็นเป้าหมายสำคัญ 
 การแบ่งยุคของยุคของนักทฤษฎีการบริหาร
                 ยุคที่1  นักทฤษฎีการบริหารสมัยเดิม การประยุกต์ใช้หลักการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
            ยุคที่2  ยุค  Human  Relation  Era  ทฤษฎีมนุษย์สัมพันธ์ การประยุต์ใช้หลักมนุษย์สัมพันธ์ในการบริหารการศึกษา
          ยุคที่ยุคการใช้ทฤษฎีทางการบริการ การประยุกต์ใช้พฤติกรรมศาสตร์ในการบริหารการศึกษา
ทฤษฎีองค์การเชิงระบบ และการประยุกต์เชิงระบบในการบริหารการศึกษา    

บทที่  3
                                                                        งานบริหารการศึกษา
ขอบข่ายการบริหารการศึกษ
1.การผลิต  หมายถึง  กิจกรรมพิเศษหรืองานที่ทางองค์การได้จัดตั้งขึ้นในทางการศึกษา
2.การประกันถึงการใช้ผลผลิตจากประชาชน  หมายถึง  กิจกรรมและผลผลิตของการดำเนินงาน
3.การเงินและการบัญชี  หมายถึง  การรับและการจ่ายเงินในการลงทุนในกิจกรรมขององค์การ
4.บุคลากร  คือ  การกำหนดรอบและการดำเนินการของนโยบาย 
5.การประสานงาน  คือ  เป็นกิจกรรมที่สำคัญของการบริหารการศึกษา 

บทที่  4

กระบวนการทางการบริหารการศึกษา

หลักการจัดการศึกษาในโรงเรียนมี  2  เรื่อง  คือ  1.การจัดระบบสังคม และ 2.เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ของการศึกษา สำหรับหลักการจัดระบบการศึกษา  ไม่ว่าระดับชาติ  ระดับท้องถิ่น  ระดับโรงเรียน  คือ  จะต้องรู้จักเด็กทุกคน  โดยยึดหลักความเสมอภาคและเหมาะสมกับปรัชญา สภาพแวดล้อมของโรงเรียน  และมีการส่งเสริมกิจกรรมให้สอดคล้องกับการปกครองในการบริหารงานในชั้นเรียนอย่างเท่าเทียมกัน โดยใช้กระบวนการบริหารการศึกษา  เป็นความคิดรวบยอดและเป็นการจัดระบบการศึกษา  ให้เป็นไปตามกระบวนการศึกษาของโรงเรียน

บทที่  5

องค์การและการจัดองค์การ

องค์การ คือ การรวมตัวของคน 2 คนขึ้นไป มีจุดมุ่งหมายร่วมกัน
องค์การแบ่งออกเป็น  3  ลักษณะใหญ่ๆคือ 1.องค์การทางสังคม ได้แก่ ครอบครัว โรงเรียน     2.องค์การทางราชการ ได้แก่ หน่วยงานราชการต่างๆ ครอบคลุมถึงกระทรวง ทบวง กรม  และ3.องค์การเอกชน ได้แก่ บริษัท ห้าง ร้านค้า เป็นต้น                                                             
แนวคิดในการจัดองค์การ
1.  แนวคิดในการจัดองค์การมาจากพื้นฐานการดำเนินงานขององค์การที่ภารกิจมาก 
2.  แนวคิดในการจัดองค์การยังต้องคำนึงถึง  ผู้ปฏิบัติงาน
3.  แนวในการจัดการองค์การ  จะต้องกล่าวผู้บริหารควบคู่กันไป
องค์ประกอบในการจัดองค์การ  ได้แก่  1.  หน้าที่การงานเป็นภารกิจ  2.  การแบ่งงานกันทำ  3.  การรวมและการกระจายอำนาจในการจัดการองค์การ                                                                                                                                    ประเภทขององค์การรูปนัย   แบ่งออก  4  ประเภท   1.  สมาคมเพื่อประโยชน์ของสมาชิก      2.  องค์การทางธุรกิจ  3.  องค์การเพื่อบริการ 4.  องค์การเพื่อสาธารณชน  
               ทฤษฎีองค์การ  คือ  ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีขององค์การอันด้มาจากสังคมวิทยา  รัฐศาสตร์  และบางส่วนของจิตวิทยาสังคมกับเศรษฐศาสตร์                                                                                                                         
ระบบราชการและองค์การทางการศึกษา ระบบราชการ  หมายถึง  ระบบการบริหารที่มีลักษณะรวมอำนาจไว้ที่ศูนย์กลางอย่างมาก  มีความอิสระในการปฏิบัติงานและเป็นกึ่งทหาร

บทที่ การติดต่อสื่อสาร

                การติดต่อสื่อสาร (Communication)  หมายถึง  การส่งข้อมูลข่าวสารจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง หรือหลายคน เพื่อให้เข้าใจความหมายของข้อมูลข่าวสารที่ผู้ส่งส่งไป และเกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน
องค์ประกอบของการติดต่อสื่อสาร ได้แก่ ผู้ส่ง (Sender) ผู้เริ่มต้นของการเผยแพร่ข่าวสาร การใส่รหัส (Encoding) ขบวนการแปลความหมาย ข่าวสาร (Message) ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการใส่รหัส“ข่าวสารที่ส่งไปให้ผู้รับต้องอาศัย สื่อ (Medium) ผู้รับ (Receiver) บุคคลที่ต้องการให้ข่าวสารเปลี่ยนมือไปถึง   
ช่องทางการติดต่อสื่อสาร(Channel) มี 2 ช่อทาง คือ การติดต่อสื่อสารทางเดียว และการติดต่อสื่อสารสองทาง                                                               
                                                                              บทที่ 7 ภาวะผู้นำ 
                คำว่า "leadership" ซึ่งมักเรียกว่า "ภาวะผู้นำ" หรือ "การเป็นผู้นำ"  ซึ่งหมายถึง ความสามารถในการเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงได้ โดยมีผู้นำเป็นผู้สร้างวิสัยทัศน์ให้เป็น ตัวกำกับ ทิศทาง ขององค์การในอนาคต    
ลักษณะภาวะผู้นำ ได้แก่ 1. ผู้นำเป็นกระบวนการ 2. มีระดับความถูกต้องของการใช้อิทธิพล 3.มีความสำเร็จของจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้
คำว่า ผู้นำ ลักษณะภาวะผู้นำ ได้แก่ ผู้จัดการ และผู้บริหาร มีความแตกต่างกัน แต่ก็ยังนิยมใช้แทนกันเพื่อให้เข้าใจ ถึงลักษณะขององค์การที่ผู้นำเกี่ยวข้องอยู่ สำหรับประสิทธิภาพของภาวะผู้นำนั้น ได้มีการสรุปเกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินประสิทธิภาพ ผู้นำไว้ 3 เกณฑ์ คือ(1) ผลที่เกิดขึ้นของกลุ่ม (2) ทัศนคติของผู้ตามและ (3) คุณภาพของกระบวนการกลุ่ม

บทที่ 8

การประสานงาน

              การประสานงาน หมายถึง การที่บุคคลหรือหน่วยงานใดทำงานร่วมกับบุคคลอื่นหรือหน่วยงานอื่นเพื่อให้งานบรรลุจุดประสงค์ร่วมกัน


แนวทางการทำงานให้เกิด "การผสมงานผสานใจ"
1. มีการประสานความคิดโดยที่ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจนโยบายและวัตถุประสงค์อย่างชัดเจน
2. มีการประสานแผนงาน ทุกฝ่ายต้องมีความเข้าใจในกรอบนโยบายของแต่ละหน่วยงาน
3. มีการประสานด้านการเงิน วัสดุอุปกรณ์
4. มีการประสานคน ผู้ที่จะทำงานร่วมกันต้องรู้จักบทบาทหน้าที่ของตนเอง และการบริหารคนในแต่ละระดับ ต้องรู้จักใช้เทคนิคการจูงใจให้เกิดการยอมรับในการทำงานร่วมกัน
5. ระบบการติดต่อสื่อสารต้องมีประสิทธิภาพ อาจใช้วิธีใช้หนังสือราชการ โทรศัพท์ ประชุมปรึกษาหารือ หรือการนัดหมายต่าง ๆ ต้องมีความชัดเจนและได้ผลดีตามวัตถุประสงค์
6. มีการจัดองค์การให้มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับองค์การของหน่วยงานอื่น ทั้งในด้านนโยบายและระบบการปฏิบัติงาน
บทที่ 9
การตัดสินใจสั่งการหรือการวินิจฉัยสั่งการ
การตัดสินใจ คือ ขบวนการในการเลือก ทางเลือกในการปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่วางไว้
ประเภทของการตัดสินใจมี 3 ประเภท ได้แก่ 1.การตัดสินใจแบบโครงสร้าง(Structure) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นเป็นประจำ       2.การตัดสินใจแบบไม่เป็นโครงสร้าง(Unstructure) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับปัญหาซึ่งมีรูปแบบไม่ชัดเจนหรือมีความซับซ้อน และ 3.การตัดสินใจแบบกึ่งโครงสร้าง (Semistructure) เป็นการตัดสินใจแบผสมระหว่างแบบโครงสร้างและแบบไม่เป็นโครงสร้าง
              การตัดสินใจแบบสั่งการ (Directive Style) จะ มีข้อมูลน้อย ไม่มีทางทางเลือก การตัดสินใจจึงต้องใช้ทางลัด รวดเร็ว แบบง่ายๆ แก้ปัญหาชัดเจน ตัดสินใจอย่างรวดเร็ว ใช้ข้อมูลน้อย ไม่พิจารณาทางเลือกมาก
 ยึดถือกฎเกณฑ์ที่มีอยู่ ใช้สถานะของตัวเองเพื่อบรรลุผลสำเร็จ

บทที่ 10
ภารกิจของผู้บริหารโรงเรียน
              ผู้บริหารโรงเรียน  ถือว่าเป็นบุคคลสำคัญที่ได้รับการแต่งตั้งหรือมอบหมายงานให้มีอำนาจหน้าที่ในการจัดการศึกษาหรืออำนวยการต่างๆ  จะมีหลายด้าน ดังนี้  1.การบริหารงานวิชาการ จะเป็นหัวใจของการบริหารในโรงเรียน 2.การบริหารบุคคล คือการจัดงานเกี่ยวกับคนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ความสำคัญของการบริหารบุคคล คือ คนเป็นผู้บันดาลให้ทุกสิ่งทุกอย่างเกิดขึ้น วัตถุประสงค์ เพื่อสรรหาและเลือกสรรคนดี มีความรู้ความสามารถมาทำงานให้เกิดผลสูงสุดอยู่กับองศ์การ 3.การบริการธุรการในโรงเรียน คืองานธุรการเป็นเรื่องของการให้บริการแก่หน่วยงานต่างๆของโรงเรียนหรอสถาบันการศึกษา 4.การบริหารงานนักเรียน เป็นการบริการงานเกี่ยวกับนักเรียนในส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนในห้องเรียน  5.การบริหารอาคารสถานที่และบริการด้านอื่นๆ คือการรู้จักจัดหา รู้จักใช้อาคารให้เกิดประโยชน์สูงสุดและให้คงสภาพดีสนองความต้องการได้อย่างเพียงพอ