หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2555

ทดสอบปลายภาค

1. แท็บเล็ตเพื่อการศึกษา      


เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์แท็บเล็ต ( Tablet PC ) นับได้ว่าเป็นสื่อกระแสหลักที่กำลังมาแรงในสังคมยุคออนไลน์หรือสังคมสารสนเทศระบบเปิดในปัจจุบัน เป็นสื่อที่ถูกนามาใช้ประโยชน์ในทุกกลุ่มอาชีพรวมทั้งการศึกษาและการเรียนรู้ของผู้เรียนทุกระดับเนื่องมาจากสมรรถนะทางเทคโนโลยีที่สร้างความสะดวกและมีประสิทธิภาพสูงในการใช้งานจึงทาให้สื่อดังกล่าวมีบทบาทอย่างมากในปัจจุบัน แม้แต่ในวงการศึกษาไทยที่ภาครัฐยังได้กำหนดและสนับสนุนการใช้ให้เกิดการเรียนรู้ในวงกว้างในปัจจุบัน
อย่างไรก็ตามนวัตกรรมและเทคโนโลยีตามกระแสสังคมต้องมีการวางแผนและปรับใช้อย่างรอบคอบ เพื่อให้บรรลุผลสูงสุดในทางปฏิบัติและคุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้นผู้เกี่ยวข้องกับการใช้สื่อแท็บเล็ตเพื่อการศึกษาคงต้องวิเคราะห์รายละเอียดและกำหนดแนวทางที่ชัดเจนในการปรับใช้กับผู้เรียน และประการสำคัญคือตัวผู้สอนคือครูคงต้องมีทักษะและสร้าง Computer Literacy ที่เหมาะสมกับระดับความสามารถของตนเอง เพื่อรับมือกับอิทธิพลการปรับใช้แท็บเล็ตในการเรียนรู้ร่วมกับผู้เรียนดังกล่าวควบคู่ไปกับการศึกษาวิจัยเพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่เกิดประโยชน์สูงสุดร่วมกันโดยรวม

2. สมาคมอาเซียน

สมาคมอาเซียน ก็คือ  การรวมกลุ่มเปิดเสรีอาเซียนในปี 2558 นั่นเอง โดยมีสมาชิกอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ จะก้าวเข้าสู่ความร่วมมือกันในมิติใหม่ในอีก 3 ปีข้างหน้า (2558) ทั้ง 10 ประเทศนี้อาเซียนจะทำให้ ประชากรของประเทศสมาชิกจะไปมาหาสู่กันได้อย่างสะดวก และง่ายดายขึ้นไม่ต้องมีวีซ่าและไม่ต้องผ่านการตรวจอย่างเข้มงวด คือมีสภาพคล้ายๆ กับเป็นกลุ่มประเทศเดียวกัน โดยไม่ได้สูญเสียความเป็นเอกราช และอธิปไตยของตนไป                   
การเตรียมความพร้อมของประเทศไทย ประเทศเพื่อนบ้าน เพื่อเข้าสู่สมาคมอาเซียน
                ประเทศของเรา และประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ บรูไน กัมพูชา อินโดนีเซีย ลาว มาเลเซีย พม่า ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และ เวียดนาม เราต้อง มุ่งเน้นในการสร้าง เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ซึ่งต้องอาศัยการพัฒนา คนเป็นศูนย์กลางในการพัฒนาทุกด้าน แรงงานของไทยต้องไม่มีปัญหาเรื่องทักษะของงาน เพื่อนำไปสู่การแข่งขันในเวทีภูมิภาคและเวทีโลกได้ และจะต้องพัฒนาผู้นำ หรือผู้บริหารทุกระดับทุกสาขาวิชาชีพให้มีทักษะด้านการใช้ภาษาอังกฤษและคอมพิวเตอร์ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุดในการบริหารมากขึ้นครับ

การเตรียมตัวเป็นครู นักเรียน นักศึกษา เพื่อไปสู่อาเซียน

 -การเตรียมตัวของครู ครูต้องสามารถนำความรู้มาใช้กระตุ้นให้ผู้เรียนพัฒนาศักยภาพตัวเองโดยการเสนอข้อมูลด้านความรู้ ความสามารถของเยาวชนในประเทศอาเซียนมาบอกให้ผู้เรียนได้รับรู้เช่นความสามารถด้านการศึกษาของเยาวชนประเทศสิงคโปร์ที่ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก หรือความสามารถด้านภาษาของเยาวชนฟิลิปปินส์ มาเลเซีย และเวียดนาม ที่ส่วนใหญ่สามารถพูดได้มากกว่า 2 ภาษา พร้อมกระตุ้นให้ตระหนักว่าจะต้องเร่งรีบขวนขวายพัฒนาตนเองเพื่อให้ทันกับการก้าวสู่ความเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคต
-การเตรียมตัวของนักเรียน นักเรียนเราควรจะพูดได้ อย่างน้อย 2 ภาษา อันดับแรกนั้นคือภาษาไทย เพราะว่าเป็นภาษาประจำชาติของเรา และต้องพูดภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะกฏบัตรอาเซียนนั้นใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษากลางในการสื่อสาร ดังนั้น นักเรียนจึงควรที่จะเรียนภาษาอังกฤษกันมากขึ้น ผมก็จะถือว่าเป็นการดีมากที่นักเรียนไทยใส่ใจในภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น และจะเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่อาเซียนได้เท่าทันประเทศอื่นๆเขาบ้าง
-การเตรียมพร้อมของนักศึกษา นักศึกษาต้องมีความสนใจและตระหนักถึงผลที่เกิดขึ้น จากการรวมตัวของประเทศต่างๆ สู่ประชาคมอาเซียนในส่วนของข้อดีและข้อเสียอย่างเข้าใจ  และการเรียนรู้ของนักศึกษายุคใหม่ จึงจำเป็นต้องปรับทั้งกระบวนการเรียนรู้  ปรับทัศนคติที่จะต้องตระหนักถึงความเป็นชาติ การปรับกระบวนทัศน์การเรียนรู้ยุคใหม่ควรเป็นไปอย่างมีเป้าหมาย อย่างคนรู้เท่าทันสถานการณ์ การสร้างความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นที่ต่างวัฒนธรรมได้ และเรียนรู้ประเทศเพื่อนบ้านทั้งในด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเพื่อให้เกิดความเข้าใจอันดีระหว่างกัน พร้อมกับสร้างโอกาสเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ ต้องเพิ่มทักษะทางด้านภาษาอังกฤษให้มากขึ้นให้สามารถสื่อสารได้เป็นอย่างดี

3. บทความครูกับภาวะผู้นำของ ผศ.ดร.สมาน คำฟูแสง
                              ในปัจจุบัน ผมคิดว่าครูเป็นผู้ที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนานักเรียนในทุกด้านซึ่งครูจะต้องมีภาวะที่เรียกว่า ภาวะผู้นำ  และบทบาทของครูหรือผู้นำทางการศึกษานั้นจะต้องเป็นผู้ให้คำปรึกษาหารือในสิ่งที่ถูกต้อง เหมาะสม และเป็นธรรม เป็นผู้นำทางปัญญาได้  มีความรอบรู้ด้านใดด้านหนึ่งชัดเจน อาศัยความรู้ประสบการณ์ที่ดีในอาชีพ  ต้องเป็นผู้จูงใจผู้อื่นให้ปฏิบัติในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นตัวแบบ ตัวอย่างที่ดี เช่น ครูจะต้องทำประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน ไม่เห็นแก่ตัวและพวกพ้องตนเอง   และเป็นนักพัฒนา มีความคิดเชิงบวก มองโลกในแง่ดี ไม่มีอคติกับนักเรียน ต้องแยกแยะอารมณ์ส่วนตนกับการทำงานให้ได้ไม่ใช่ว่าเอางานมาปนกับเรื่องส่วนตน เพราะจะทำให้ผลลัพธ์จากการสอนนั้นไม่เกิดประโยชน์ใดๆ ตัวอย่าง ครูอารมณ์เสียมาแต่ไหนก็ไม่รู้ มาถึงโวยวายกับนักเรียน พอนักเรียนโต้เตียงเล็กน้อย กลับไม่พอใจ ด่าตอบ และจะให้นักเรียนคนนั้นติดศูนย์คือไม่ผ่านนั้นเอง นี้ก็เป็นตัวอย่างของการมีภาวะผู้นำของครูที่ดี ไม่สมควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างครับ

4.  การเรียนรู้โดยใช้บล็อก

 การเรียนรู้โดยใช้บล็อก ผมมีวิธีการเรียนรู้โดยการตั้งใจเรียน ผมได้ฟังอาจารย์สอนจนทำให้ผมมีความเข้าใจเป็นอย่างดี และนอกจากนี้ผมก็ยังไปสืบค้นข้อมูลเกี่ยวกับบล็อกเพื่อมีความรู้เพิ่มเติม จนผมสามารถสร้างบล็อกได้ด้วยตัวของผมเอง 
การเรียนรู้โดยใช้บล็อกนี้ ผมจะใช้บล็อกนี้เป็นแหล่งรวบรวมผลงาน ความรู้ต่างๆ และจะนำเทคนิคการสร้างบล็อกที่ได้มาจากอาจารย์ ไปแนะนำหรือถ่ายทอดแก่คนรุ่นหลังต่อไป เพื่อให้ก้าวทันเทคโนโลยีที่ทันสมัย
การเรียนที่ผ่านมานั้นผมได้มีความพยายาม ตั้งใจ จดจ่อ ในการสร้าง การใช้บล็อกมาตลอด ซึ่งในที่สุดแล้วก็ทำให้ผมรู้ว่า เป็นวิชาที่ดีมาก ที่ทำให้ผมได้ทั้งภาคความรู้จากการสรุปด้วยตัวเราเอง และในภาคปฏิบัติก็ทำให้เราใช้บล็อกในการทำงานได้ ดังนั้น ผมจึงควร จะได้เกรด A ในวิชานี้ครับ
4.1 ตนเองมีความพยายามมากน้อยเพียงใด
       การเรียนในวิชานี้ผมมีความพยายามเป็นอย่างยิ่ง  เพราะผมต้องการเป็นครูยุคใหม่ สามารถใช้บล็อกไปประกอบการเรียนการสอนได้  ผมได้ฝึกการจัดวางบล็อก และพยายามคิดที่จะทำให้บล็อกของผมออกมาดูสวยงาม  
4.2 เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเรียน
       สำหรับวิชานี้ ผมได้เข้าเรียนทุกครั้งไม่เคยขาดเลยครับ เพราะเป็นวิชาที่น่าสนใจมากเลย
 4.3 ทำงานส่งผ่านบล็อกตามกำหนดทุกครั้งที่อาจารย์สั่งงาน                 
   ผมได้ทำงานส่งผ่านบล็อกที่อาจารย์กำหนดทุกครั้ง แม้จะทำงานช้าไปบ้าง แต่ผมก็ส่งตามกำหนดครับ
 4.4 ทำงานผ่านบล็อกด้วยความคิดของตนเองไม่ใช้ความคิดคนอื่น
  ผมได้ทำงานผ่านบล็อกด้วยความสามารถของตัวผมเอง ด้วยการสรุปความคิดรวบยอดเป็นองค์ความรู้จากการอ่านบทความหลายๆ บทความมารวมกันจากหนังสือ และทางอินเทอร์เน็ตครับ
4.5.สิ่งที่นักเรียนตอบมานั้นเป็นความสัตย์จริง เขียนอธิบายลงในบล็อก
     ในสิ่งที่ผมตอบมาทุกประการนั้นล้วนแต่เป็นความสัตย์จริงทั้งสิ้นครับ เพราะผมยึดมั่นในความเป็นตัวของตัวเองสูงมาก และผมมีอุดมการณ์ที่ว่า "ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน"  ไม่มีสิ่งใดที่ผมทำไม่ได้ หากผมได้ตั้งมั่น ปฏิญาณกับตนเองแล้วว่าจะต้องทำให้สำเร็จให้ได้ครับ

กิจกรรม 9

ลักษณะของห้องเรียนที่ดี

                      ลักษณะห้องเรียนที่ดี ผมคิดว่าห้องเรียนควรมีอากาศถ่ายเทสะดวก มีแสงสว่างเพียงพอและสม่ำเสมอทั่วห้อง โต๊ะเก้าอี้มีขนาดเหมาะสมกับวัย น้ำหนักเบาให้เด็กเคลื่อนย้ายได้โดยสะดวกโดยมีการจัดเก็บเป็นระเบียบ สวยงาม ใช้วัสดุอุปกรณ์ในการตกแต่งห้องเรียนให้สวยงาม หรือเลือกสรรวัสดุอุปกรณ์และสื่อการเรียนรู้ที่มีความสร้างสรรค์ ทนทาน หลากหลายมาใช้งาน โดยคำนึงถึงความคุ้มค่าและความทนทาน มีการจัดระบบการวางวัสดุอุปกรณ์ให้เด็กหยิบใช้ได้โดยสะดวก มีการตรวจสอบความสะอาด และความพร้อมในการใช้งานของวัสดุอุปกรณ์และสื่ออย่างสม่ำเสมอ โดยเลือกสถานที่ในการเรียนรู้ให้เหมาะกับลักษณะของกิจกรรม เช่น กิจกรรมที่สงบอยู่ไกลจากกิจกรรมที่ใช้เสียง กิจกรรมที่ต้องการแสงสว่างอยู่ใกล้กับหน้าต่าง เป็นต้น และสิ่งสำคัญที่สุดนั้นผมคิดว่า คือการสร้างบรรยากาศในห้องเรียนให้อบอุ่น เป็นมิตร และเต็มไปด้วยความรักความเมตตาครับ

กิจกรรม 8

ครูในอุดมคติ


               ครูในอุดมคติของผมนั้นจะต้องเป็นทั้งนักปราชญ์ และผู้ทรงศีลเพราะสังคมได้ยกย่องให้ครูเป็นปูชนียบุคคล เป็นผู้ประเสริฐและประสาทความรู้ สร้างความเป็นคนและอบรมสั่งสอนเด็กให้เป็นเด็กที่ดีของสังคม ความจำเป็นที่ผมจะต้องให้ครูเป็นทั้งนักปราชญ์ และผู้ทรงศีลดังกล่าวนี้ ผมเห็นว่า ความเป็นนักปราชญ์ของครูนั้น ครูจะต้องมีความดีและถ่ายทอดดี สอนให้เด็กได้รับความรู้และสนุกมีชีวิตชีวา ส่วนความเป็นผู้ทรงศีลของครู ในฐานะที่ครูเป็นแม่แบบของชาติหรือเป็นต้นแบบในพฤติกรรมทั้งปวง จะช่วยให้ครูเป็นคนดี วางตัวดี เป็นที่เคารพและเป็นที่น่าเชื่อฟังของลูกศิษย์ จึงกล่าวได้ว่า ครูต้องมีคุณธรรม หรือคุณธรรมสำหรับครูเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับครูอย่างยิ่ง ถึงแม้ว่าครูจำเป็นต้องมีคุณธรรม แต่ผมคิดว่า คุณธรรมอย่างเดียวไม่เพียงพอ ดังนั้นครูต้องเป็นนักปรัชญาด้วย การเป็นนักปราชญ์ของครูจะช่วยให้ครูมีความรู้รอบ และรอบรู้ มีทัศนะกว้างไกลและลึก มองเห็นชีวิตของตนเองทั้งในปัจจุบันและอนาคตอย่างทะลุปุโปร่ง และช่วงมองอนาคตของเด็กให้ทะลุปุโปร่งด้วย เพื่อจะได้ประคับประคองสนับสนุน และส่งเสริมให้เด็กเจริญก้าวหน้าอย่างเต็มที่ครับ

วันจันทร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรมทดสอบกลางภาคเรียน

บทความเรื่อง ความเป็นครูในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดย ดร.สุเมธี ตันติเวชกุล
              1. ข้อสรุปที่ได้จากการอ่านบทความ 
                ความเป็นครูของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ผมเห็นว่า พระเจ้าอยู่หัวทรงเป็นครูแห่งแผ่นดิน เพราะตลอดระยะเวลาที่ได้ทำงานมา 30  ปีนั้น ได้ทรงสอนเรื่องแผ่นดิน ทรงสอนให้เรารู้จักและเข้าใจชีวิตของตนเอง โดยพระองค์จะเป็นผู้ปกครองโดยธรรม ที่ยึดมั่นในหลักทศพิธราชธรรม และมีวิธีในการสอนของพระองค์คือการทำให้ดู หรือการสาธิต จึงเกิดโครงการต่างๆ ขึ้นมากมาย ซึ่งครูในปัจจุบันก็สามารถนำแนวทางโครงการตามแนวพระราชดำริในเรื่องต่างๆ มาถอดเป็นบทเรียนเพื่อใช้ได้แทบทุกวิชาเลยครับ
             2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
              ถ้าผมเป็นครู ผมจะถ่ายทอดความรู้ โดยการสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการเรียน                 การสอน  โดยผมจะปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่นักเรียน และพยายามให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในชั้นเรียนให้มาก เพื่อพัฒนาการปรับตัวให้เข้ากับสังคมได้อย่างปกติสุข
            3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร  
             เมื่อผมได้เป็นครูในอนาคต ผมจะนำแนวคิดนี้มาออกแบบการเรียนการสอน โดยจะเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ซึ่งผมจะใช้วิธีสอนแบบสาธิต คือ การทำให้ผู้เรียนดูก่อน จากนั้นให้ผู้เรียนปฏิบัติเอง และให้ผู้เรียนสามารถดำรงชีวิตอยู่อย่างพอเพียง ซื่อสัตย์ สุจริต ยึดมั่น คุณธรรม ทำแต่ความดี และอยู่อย่างมีความสุข

บทความเรื่อง  วิถีแห่งสตีฟ จ๊อบ 
โดย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
               1. ข้อสรุปที่ได้จากการอ่านบทความ 
                         การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของเขตพื้นที่การศึกษา  แต่ละเขตพื้นที่ประกอบด้วย 3 คณะ คือ คณะกรรมการเขตพื้นที่การศึกษา(กพท.) มีหน้าที่หลักในการดูแล ส่งเสริม สนับสนุนการจัดการศึกษาในเขตพื้นที่การศึกษา ในลักษณะทั่วไป คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ ประเมินผลและนิเทศการศึกษา(กตปน.) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานเชิงวิชาการ งานประกันคุณภาพการศึกษา และ อนุกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเขตพื้นที่การศึกษา (อ.ก.ค.ศ.เขตพื้นที่การศึกษา) มีหน้าที่หลักในการดูแลงานด้านการบริหารงานบุคคล    
                        สภาพปัจจุบัน  ปัญหาและความต้องการของเขตพื้นที่การศึกษา  พบว่า  การจัดการศึกษาระดับปฐมวัย  และการศึกษาขั้นพื้นฐาน  โดยสถานศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถรับเด็กเข้าเรียนได้สูง  และอัตราเรียนต่อสูงขึ้นทุกปี  อัตราการออกกลางคันลดลง  ผู้ปกครองต้องการให้เด็กเรียนสูงขึ้น  แต่สถานศึกษาในชนบทส่วนใหญ่   เป็นสถานศึกษาขนาดเล็ก  ครูผู้สอนมีน้อย และเด็กส่วนใหญ่ไม่มีความรู้มากนัก เพราะเรียนแค่ ม.3 หรือ ม.6 เท่านั้น จึงทำให้การว่างงานนั้นสูงขึ้นเรื่อยๆ
                   2. ถ้าท่านเป็นครูผู้สอนท่านจะนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์กับการเรียนการสอนได้อย่างไร
                เมื่อผมเป็นครูผู้สอนจะนำความรู้ที่ได้นี้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนโดยการให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน  ครู  ผู้บริหาร  บุคลากรทางการศึกษา  และสถานศึกษา นอกจากนี้ผมขอน้อมนำแนวคิดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  หลักการทรงงานและหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  เป็นแนวทางการพัฒนา
            3. ในฐานะที่นักศึกษาจะเป็นครูในอนาคตจะออกแบบการเรียนการสอนที่จะนำแนวคิดนี้ไปใช้ได้อย่างไร          
     ในอนาคตผมคงจะได้เป็นครูผู้สอน และผมก็สามารถที่จะนำแนวคิดของบทความนี้ไปใช้ในการออกแบบการสอนโดย ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้อย่างเข้าใจ ครูต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้รับความรู้โดยการให้ผู้เรียนศึกษาหาความรู้จากกิจกรรมที่ครูจัดให้ ไม่ใช่ครูบอกความรู้ หรือครูบอกความเข้าใจของครูให้กับผู้เรียน จากนั้น ครูจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนสรุปความรู้ที่ได้รับเป็นองค์ความรู้(อย่างเข้าใจ)เป็นภาษาของตนเอง เพื่อให้เป็นองค์ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวของผู้เรียน และสุดท้ายต้องจัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้นำองค์ความรู้นี้ไปใช้ในสถานการณ์ใหม่ ที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นสภาพจริง สอดคล้องกับชีวิตประจำวัน

วันอาทิตย์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม 7

ให้นักศึกษาศึกษาดูโทรทัศน์ครู ให้เลือกเรื่องที่นักศึกษาสนใจมาคนละ 1 เรื่อง และเขียนลงในบล็อกกิจกรรมของนักเรียน ดังนี้

1. สอนเรื่องอะไร ผู้สอนชื่อ ระดับชั้นที่สอน                                                                                                

         เรื่อง ตำนานถ้ำภูผายล ผู้สอน คุณครูสุจินต์ สวนไผ่ ระดับชั้นที่สอนประถมศึกษาปีที่ 6                    
 2. เนื้อหาที่ใช้สอนมีอะไรบ้าง                                                                                                                                                                                                                                        
               ครูให้แก่นความรู้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ว่า เป็นการเรียนรู้เกี่ยวกับอะไร ? เรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องเวลา อดีต และสังคมมนุษย์ ที่มีการใช้ชีวิตอยู่ร่วมกัน โดยให้นักเรียนเสนอประเด็นแหล่งประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่นักเรียนมีความสนใจ ศึกษาเรียนรู้ เช่น ภูผายล ถ้ำเสรีไทย พระบาทน้ำทิพย์
3. จัดกิจกรรมการสอนด้าน (สติปัญญา=IQ, อารมณ์=EQ, คุณธรรมจริยธรรม=MQ)
การจัดกิจกรรมการสอนด้านสติปัญญา เด็กนักเรียนเลือกแหล่งเรียนรู้ผ่านการอธิบายเหตุผลและการลงคะแนน ต่อจากนั้นครูแนะสถานที่ไป ความสำคัญ จุดสำคัญทีควรศึกษา เช่น ภาพเขียน 3000 ปี จากนั้น ครูให้เด็กศึกษา หาข้อมุลเพิ่ม ก่อนไปทัศนศึกษา เมื่อศึกษาจบให้นำเสนอผลงานที่ไปดูงานมา และนำข้อมูลที่ได้ สรุปนำเสนอ และเผยแพร่ความรู้ให้น้องๆ ผ่านการจัดนิทรรศการ
การจัดกิจกรรมการสอนด้านอารมณ์ การสอนแบบโครงงานให้นักเรียน เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียน โดยผ่านกระบวนการหลักคือ กระบวนการแก้ปัญหา ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
การจัดกิจกรรมการสอนด้านคุณธรรมจริยธรรม ให้นักเรียนมีจิตสำนึกรักบ้านเกิด จึงได้พานักเรียนไปทัศนศึกษาเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลแหล่งประวัติศาสตร์ในท้องถิ่น เพื่อนักเรียนจะได้มีความรู้เกี่ยวกับข้อมูลท้องถิ่นของตนเองมากขึ้น และภูมิใจในภูมิปัญญาท้องถิ่น      
 4. บรรยากาศการจัดห้องเรียน                                                                                                                                      
มีห้องเรียนที่สะอาด จัดโต๊ะเก้าอี้ไว้อย่างเป็นระเบียบ มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อกัน มีการจัดมุมวิชาการต่าง ๆ การจัดป้ายนิเทศ การตกแต่งห้องเรียนด้วยผลงานของนักเรียน และมีห้องเรียนที่ไม่คับแคบจนเกินไป ทำให้นักเรียนเกิดความคล่องตัวในการทำกิจกรรม

วันเสาร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กิจกรรม 5

คุณครูที่ผมชื่นชอบ
                                                                             

http://krulathiga.files.wordpress.com/2010/07/lat1.jpg

ชื่อ นางลัฐิกา ผาบไชย      
 เกิด 18 มกราคม 2506

ประวัติการศึกษา

1.ระดับปริญญาตรี เอกภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พิษณุโลก

2. ระดับปริญญาโท เอกหลักสูตรและการสอน จากมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์

ประวัติการรับราชการ

ปี 2528 – 2530 อ.1 ระดับ 3 โรงเรียนบ้านนาแต้ อ. คำตากล้า จ.สกลนคร

ปี 2530- 2534 อ.1 ระดับ 4 โรงเรียนบ้านหินโง่น อ.หล่มเก่า จ.เพชรบูรณ์

2 ตุลาคม 2546 – ปัจจุบัน ครูชำนาญการพิเศษ  โรงเรียนด่านแม่คำมัน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุตรดิตถ์ เขต 1

ผลงานดีเด่น

 รางวัลคุรุสภา  ครูภาษาไทยดีเด่น ระดับมัธยมศึกษา ปี 2546 

ผลงานทางวิชาการ

1. รายงานผลการใช้แผนการสอนหลักภาษาเรื่องคำและหน้าที่ของคำในภาษาไทยโดยใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

ผลงานวิจัย

1. รายงานการพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนเรื่องคำไทย สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 3

2. รายงานการพัฒนาสื่อ MultiPoint Mouse เรื่อง ไตรยางค์และการผันอักษร สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

ผลงานที่ผมชื่นชอบ คือ การทำงานเพื่อสังคม ยอมเสียสละ และอุทิศเวลาให้กับผู้อื่นได้เสมอ

1.  ทีมงานสหวิชาดอทคอม สาระการเรียนรู้ภาษาไทย ปี  2553
2. ครู Social  Media ปี  2553
3. คณะทำงาน “ก้าวใหม่ของครูไทย ก้าวไกลด้วย Social Media”  ปี 2554
4. กรรมการตรวจผลงานวิชาการ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย

สิ่งที่นำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง

       การเป็นครูเราต้องรู้จักการทำงานเพื่อสังคม ไม่ใช่เพียงสอนอย่างเดียว ต้องมีน้ำใจต่อเพื่อน ต่อครู และต่อสังคมด้วย เพราะจะเป็นหนทางให้เราสามารถพัฒนาตนเองทั้งด้านทักษะ ความรู้ เจตคติ และการปฏิบัติอยู่ร่วมงานกันได้อย่างปกติสุข

ที่อยู่  581 ต. ศรีพนมมาศ อ. ลับแล จ. อุตรดิตถ์ 53130 โทรศัพท์บ้าน 055 450041                     มือถือ 0832134011

โทรศัพท์โรงเรียน 055 816-063 แฟกซ์ 055 -816063

http://krulathiga.files.wordpress.com/2010/07/cimg0153.jpg 

                ภาพการอบรม การผลิตสื่อด้วยโปรแกรม Multipoint Mouse กับครูรำพึง  อ่อนอุระ

คุณครู บุญเลี้ยง ฉิมมาลี